น.ส.ตรีนุช เทียนทอง

ศธ. สรุปผลงาน 1 ปี พร้อมก้าวสู่ปีที่ 131 มุ่งพัฒนาการศึกษาไทย

ศธ. สรุปผลงาน 1 ปี พร้อมก้าวสู่ปีที่ 131 มุ่งพัฒนาการศึกษาไทย

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เป็นประธานการประชุมสรุปผลการดำเนินงานเพื่อก้าวสู่ปีที่ 131 การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ที่ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยมี ผู้บริหารองค์กรหลัก ของ ศธ.ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ร่วมแถลง

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการ ศธ.

กล่าวตอนว่า การขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ของ ศธ.ในวันนี้เราเจอความท้าทายในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันจากสภาพสังคม เศรษฐกิจของโลก ในฐานะ ศธ.ที่มีหน้าที่ในการดูแลการศึกษาทั้งภาพรัฐและเอกชน ดูแลการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาสายอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต

ซึ่งที่ผ่านมา ศธ.ได้พัฒนาการศึกษาทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผู้เรียน dkiสร้างคุณภาพทางการศึกษา dkiปรับเปลี่ยนเกณฑ์ต่างๆ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา dkiสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา ซึ่งตนเห็นความคืบหน้าการขับเคลื่อนงานในด้านต่างๆ ของแต่ละหน่วยงาน ที่ขับเคลื่อนได้อย่างดี จึงขอให้ทุกหน่วยงานดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

เพราะถ้าการทำงานไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่องจะทำให้การทำงานสะดุด และอยากให้ทุกหน่วยงานสื่อสารประชาสัมพันธ์งานต่างๆ ให้ประชาชนได้รับทราบว่าขณะนี้เรากำลังพัฒนาการศึกษาอย่างไรบ้าง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองและนักเรียน

นายอรรถพล สังขวาสี ปลัด ศธ.

กล่าวว่า สป.ศธ.ได้ดำเนินการจัดตั้ง อาสาสมัครผู้สูงอายุกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) โดยเปิดรับผู้เกษียณอายุราชการจากภาครัฐและเอกชน เข้ามาเป็น อส.ศธ. เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แก้ไขปัญหาการถดถอยทางการศึกษา และช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งในขณะนี้มีผู้สมัครถึง 43,885 คน

ทั้งนี้ ยังได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยออก 7 มาตราช่วยเหลือ คือ

1. ลดดอกเบี้ยเงินกู้ โดยร่วมมือกับสหกรณ์ออมทรัพยครูกว่า 70 แห่งทั่วประเทศ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.05-1.0 ซึ่งมีครูได้รับประโยชน์จากการลดดอกเบี้ย 463,072 ราย ช่วยลดภาระหนี้สิน 2,256 ล้านบาท

2. ยกระดับการหักเงินเดือนและควบคุมยอดหนี้

3. ชะลอการดำเนินการทางกฎหมาย

4. จัดตั้งสถานีแก้หนี้ครู ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคทั่วประเทศ 558 สถานี เพื่อทำหน้าที่เป็นคนกลางช่วงเจรจาไกล่เกลี่ย ประนอมหนี้และปรับโครงสร้างหนี้แก่ครูที่ลงทะเบียนขอรับการช่วยเหลือ 41,128 ราย

5. ปรับโครงสร้างหนี้

6. ใช้ ช.พ.ค. เป็นหลักประกันเงินกู้

7. การติดอาวุธให้ความรู้และทักษะทางการเงิน

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)

กล่าวว่า สพฐ. มีพันธกิจรับผิดชอบดูแลการศึกษาให้เด็กตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยสพฐ.ได้ดำเนินการขับเคลื่อนให้ทุกสถานศึกษาพัฒนางานใน 4 มิติ ดังนี้

1.ความปลอดภัย คือ ทุกโรงเรียนจะต้องมีความปลอดภัย โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือสร้างโรงเรียนแห่งความสุข โดยจัดทำโครงการสถานศึกษาปลอดภัย และการผลักดันให้มี 1 โรงเรียน 1 อนามัย

2.สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยจัดทำโครงการพาน้องกลับมาเรียน โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายของนักเรียน คือ การเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวเพื่อพัฒนาให้มีการเรียนฟรีอย่างมีคุณภาพ

3.การสร้างคุณภาพ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้อิงสมรรถนะ เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ซึ่งในขณะนี้ สามารถขับเคลื่อนการเรียนแบบ Active Learning ได้เต็มที่ 100% แล้ว พร้อมกับจัดทำแนวทางขับเคลื่อนActive Learning ให้กับโรงเรียนทุกแห่ง

4.การสร้างประสิทธิภาพ ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ โครงการ Connext ED และโครงการร่วมพัฒนา พร้อมกับส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ โดยได้จัดทำกรอบแนวคิดการดำเนินการส่งเสรอมการจัดเรียนการสอนประวัติศาสตร์ คือ ต้องใช้สื่อร่วมสมัยที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน จัดให้มีรายวิชาพื้นฐานตาม 8 กลุ่มสาระวิชาการเรียนรู้ และรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ 1 รายวิชา ในแนวคิดการจัดการเรียนแบบ Active Learning มาสอนประวัติศาสตร์ และให้ความสำคัญกับการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นหลัก

ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.)

กล่าวว่า สอศ.ได้ดำเนินการขับเคลื่อนงานสำคัญต่างๆ ดังนี้ ขับเคลื่อนโครงการอาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ โดยนำเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษากลับเข้ามาเรียน ในสถานศึกษาจำนวน 88 แห่ง สร้างโอกาสให้ผู้เรียน 3,480 คน ซึ่งในอนาคตจะเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมกับยกระดับคุณภาพสถานศึกษาโดยเชื่อมโยงพัฒนาหลักสูตรสมัยใหม่ พร้อมกับ ผลักดันทวิภาคี คุณภาพสูง

โดยร่วมมือกับสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สภาเกษตร สภาการท่องเที่ยว สภาดิจิทัล กระทรวงแรงงาน และสถานประกอบการ ร่วมกับจัดการศึกษาทวิภาคีคุณภาพสูง ใน 433 สถานศึกษารัฐ และ 444 สถานศึกษาเอกชน

โดยในปี 2568 สอศ. ตั้งเป้าจะให้มีผู้เรียนทวิภาคี 50% จากผู้เรียนอาชีวะทั้งหมด นอกจากนี้ ได้จัดโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษา และมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือทวิศึกษาร่วมกับ สพฐ. โดยเน้นสอนในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ศึกษาสงเคราะห์ และโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ ซึ่งขณะนี้มีผู้ยื่นประสงค์เข้าร่วมโครงการมากกว่า 5,000 คนแล้ว

นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการ สกศ.

กล่าวว่า สกศ. ได้พัฒนาการศึกษาเชิงนโยบายที่สำคัญ ดังนี้

1.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการศึกษาระดับจังหวัด โดยได้นำร่องจัดทำแผนการศึกษา 9 จังหวัด ประกอบด้วย จ.แม่ฮ่องสอน จ.ร้อยเอ็ด จ.กาฬสินธุ์ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี จ.สระแก้ว จ.ชัยนาท จ.นราธิวาส และจ.สระบุรี

2.จัดทำแนวทางการจัดตั้งหน่วยงานกลางธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ

3.จัดทำแผนยกระดับความสามารถทางการแข่งขันทางการศึกษาไทยในเวทีโลก (IMD)

นอกจากนี้ สกศ.ได้ดำเนินงานในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ตาม พ.ร.บ.พัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.2562 คือ ขับเคลื่อนและติดตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.2564-2570 ติดตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศด้านเด็กปฐมวัย ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ

นายสุเทพ แก่งสันเทียะ

นายคมกฤช จันทร์ขจร รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ในฐานะรักษาการแทนเลขาธิการ กศน.

กล่าวว่า ที่ผ่านมา กศน.ได้ขับเคลื่อนพัฒนาการเรียนการสอนให้ทุกคนทุกช่วงวัย ดังนี้ จัดโครงการ “สูงวัย ใจสมาร์ท” เพื่อพัฒนาการทางกาย จิต และ สมองของผู้สูงอายุ โดยจะพัฒนาทักษะของผู้สูงอายุ 4 มิติ คือ สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และเทคโนโลยี เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดี เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาทักษะผู้สูงอายุจำนวน 247,490 คน พร้อมกับจัดทำโครงการพาน้องกลับมาเรียน

โดยในปีการศึกษา 2565 พบเด็กหลุดจากระบบ 79,396 คน สามารถติดตามเข้าระบบ 14,377 คน ไม่กลับเข้าระบบ 6,999 คน เสียชีวิต 2,099 คน ส่งต่อหน่วยงานอื่น เนื่องจากอายุเกินเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ แต่ต้องการได้รับการช่วยเหลือในสวัสดิการด้านอื่นๆ จากภาครัฐ 23,865 คน

ทั้งนี้ได้ ผลักดัน กศน.WHITE ZONE โดยตั้งศูนย์ความปลอดภัยใน 77 จังหวัด มีคณะกรรมการศูนย์ความปลอดภัย 1,005 แห่ง และขณะนี้ อยู่ระหว่างขับเคลื่อนยกระดับ กศน. สู่กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (กสร.) หลัง พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 ซึ่งทำให้ กศน.ถูกยกฐานะจากหน่วยงานภายใต้ สป.ศธ. โดยให้ กสร. ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลภายใต้ ศธ.ทำหน้าที่แทน

นายประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (กช.)

กล่าวว่า สช. ได้ทำการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในเรื่องหลักๆ ดังนี้ ส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนใต้ เช่น จัดสรรค่าใช้จ่ายในการตรวจติดตามและสัมนาฝึกอบรมบุคลากรในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) จำนวน 2,144 ศูนย์ ศูนย์ละ 5,000 บาท ใช้งบประมาณทั้งหมด 10.72 ล้านบาท ทำให้บุคลากรจำนวน 15,910 คน ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ เป็นต้น

มีการปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชนตามขนาดของโรงเรียน โดยปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวัน ให้นักเรียนตั้งแต่ระดับเด็กเล็ก จนถึง ป.6 ตามขนาดของโรงเรียน ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายนักเรียนโรงเรียนเอกชน จำนวน 487,819 คน ใน 1,782 โรงเรียน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,175,578,200 บาท

และปรับเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนพิการ โดยมีนักเรียนได้รับความช่วยเหลือจำนวน 4,762 คน จำแนกเป็นประเภทสามัญ 4,452 คน และประเภทอาชีวศึกษา 310 คน ซึ่งใช้งบประมาณ 118,739,045 คน ซึ่งจะมีผลในปีงบประมาณ 2566 เป็นต้นไป

นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.

กล่าวว่า ก.ค.ศ. ได้พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลเพื่อพลิกโฉมวิชาชีพครู ดังนี้ การสร้างขวัญกำลังใจให้ครูที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ยากลำบาก โดยลดระยะเวลาขอวิทยาฐานะจาก 4 ปี เหลือ 3 ปี เสนอเงินเพิ่มพิเศษจากสภาพการทำงานเดือนละ 3,000 บาท ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมทางด้านคุณภาพให้กับโรงเรียน

โดยจัดสรรอัตรากำลังกว่า 20,453 อัตรา ลดความซ้ำซ้อนในการประเมินเพื่อคืนครูสู่ห้องเรียน โดยวางระบบเกณฑ์ประเมินใหม่ คือ ใช้เกณฑ์ PA และประเมินวิทยาฐานะผ่านระบบออนไลน์ ลดการใช้เอกสาร รวดเร็ว ยุติธรรม และมีประสิทธิภาพ

และนอกจากนี้ ได้พัฒนาความก้าวหน้าและการประเมินในสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการในการผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษาให้กับประเทศ และแก้ปัญหาอัตรากำลังครู ผู้อำนวยการโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถบรรจุผู้อำนวยการ ในโรงเรียนที่มีนักเรียน 60-120 คน โดยเกลี่ยอัตราครูที่เกินในโรงเรียนขนาดใหญ่มาเปลี่ยนเป็นผู้อำนวยการเพื่อบรรจุในโรงเรียนขนาดเล็ก

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ mermaidimports.com

แทงบอล

Releated